วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หลัการฟังที่ดี การฟังที่ดีมีหลักสำคัญคือ

1. ฟังให้ตรงตามความมุ่งหมาย โดยทั่วไปแล้หลักการฟังมีความมุ่งหมายหลัก 3 ประการ
1.1 ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน ได้แก่ การฟังเรื่องราวที่สนุกสน
1.2 ฟังเพื่อความรู้ ได้แก ่ การฟังเรื่องราวทางวิชาการ ข่าวสารและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
1.3 ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ ได้แก่ การฟังที่ก่อให้เกิดสติปัญญา ความสุขุมและวิจารณญาณ
2. ฟังโดยมีความพร้อม ความพร้อมในที่นี้ หมายถึง ความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ และความพร้อมทางสติปัญญา
ความพร้อมทางร่างกาย หมายถึง การมีสุขภาพทางร่างกายเป็นปกติ ไม่เหนื่อย ไม่อิดโรย
ความพร้อมทางจิตใจ หมายถึง การมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพ

สุนทรียรสแห่งบทร้อยกรอง


ในการเรียนวิชาภาษาไทยหรือการอ่านวรรณคดีต่าง ๆ ต้องอาศัยความเข้าใจความหมายของบร้อยกรองในวรรณคดีนั้น ๆ ว่าแต่ละบทนั้นให้ความหมายหรือความรู้สึกอย่างไรต่อผู้อ่าน ถ้าเกิดไม่เข้าใจในบทร้อยกรองแล้ว ก็จะไม่เข้าใจเนื้อเรื่องของวรรณคดีนั้น ๆ ด้วย ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับสุนทรียรสแห่งบทร้อยกรอง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ในที่นี้จะได้ทราบเกี่ยวกับบทร้อยกรองที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ และการเปรียบเทียบลักษณะต่าง ๆ ในบทร้อบกรอง รวมถึงการใช้สำนวนโวหารต่าง ๆ ในบทร้อยกรองอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

รวมวรรณคดีไทย











เรื่องย่อทั้งหมด กากี ท้าวพรหมทัตกษัตริย์แห่งนครพาราณสีมีพระมเหสีรูปงามกลิ่นกายหอม ชื่อว่านาง กากีพระองค์รักและหลงใหลนางกากี ไม่ให้มหาดเล็กคนสนิทที่เป็นชายเข้าใกล้หรือได้เห็น ยกเว้น ที่จำเป็นเพียงไม่กี่คนเท่านั้น หนึ่งในหนุ่มคนสนิทที่สามารถเข้าใกล้นางกากีได้ คือ “นาฏกุเวร” ผู้เป็นคนธรรพ์รูปงาม มีหน้าที่บรรเลงดนตรี แต่งกลอน ขับกล่อม ให้แก่ ท้าวพรหมทัต ในยามที่พระองค์เล่นสกา กีฬาโปรดปรานกับพระสหายสนิทตามปรกติ คนธรรพ์ เป็นกึ่งมนุษย์ กึ่งเทวดา ที่มีความสามารถสูง ยิ่งเป็นนาฏกุเวรผู้มีความ เปรื่องปราชญ์ก็ยิ่งเป็นที่รักใครไว้วางพระทัยของท้าวพรหมทัต
นอกจากพระประยูรญาติที่ท้าวพรหมทัตโปรดให้เล่นสกาด้วยแล้ว พระองค์มีสหาย สนิทผู้มีความลึกลับที่มีฝีมือการทอดสกา เทียบเท่าพระองค์ นามว่าเวนไตย เวนไตยเป็น พญาครุฑ ที่มีวิมานชื่อ ฉิมพลี ตั้งอยู่ที่เชิงเขาพระสุเมรุเหนือดงงิ้ว ผู้มีร่างมาเป็นมานพ รูปร่างสง่างามในเมืองมนุษย์ เวนไตยไม่ยอมบอกว่าตัวเองมาจากที่ไหนแต่ก็มาเล่นสกากับ ท้าวพรหมทัตอย่างสม่ำเสมอทุกๆเจ็ดวัน
คำร่ำลือถึงความสง่างามของพญาเวนไตย จากสนมกำนัลมาเข้าหูนางกากี นางกากี ลองแอบดูครั้งหนึ่งก็พอดีกับเวนไตยมองมาทั้งคู่ต่างตื่นเต้นในความงามของกันและกันทำ ให้เวนไตยถึงกับทำอุบายลักพานางกากีไปจากท้าวพรหมทัต โดยการจำแลงตัวเป็นพญา ครุฑบินไปบังแสงอาทิตย์ที่ส่องเมืองพาราณสี ทำให้เมืองมืดมิดและอลหม่านจากการเกิด พายุใหญ่กระหน่ำ เวนไตยฉวยโอกาสนี้พาตัวนางกากี ไปสมสู่ ณ วิมานฉิมพลี เนื่องจาก นางกากีก็พึงพอใจเวนไตย เมื่อยามเป็นชายหนุ่มรูปร่างสง่างามในวิมานฉิมพลี
ท้าวเทวทัตเป็นทุกข์ระทมเมื่อนางกากีมเหสีสุดสวาทได้หายไปไม่สามารถตามหาได้ นาฏกุเวร ผู้แอบหลงรักในรูป และกลิ่นกาย ของนางกากีอาสานำตัวนางกากีกลับ เพราะรู้ ระแคะระคาย เนื่องจากเหตุการณ์ในวันที่เวนไตย สบตากับนางกากีไม่พ้นจากสายตาของ คนธรรพ์หนุ่มนี้ไปได้ นาฏกุเวร ได้ผูกกลอนขับกล่อมขณะที่เวนไตยเล่นสกากับ ท้าว พรหมทัตจนสังเกตความผิดปรกติของเวนไตยได้ เมื่อท้าวพรหมทัตทรงอนุญาต การเล่น สกาครั้งต่อมา นาฏกุเวรจึงแปลงร่างเป็นตัวไรเกาะปีกเวนไตย เมื่อเขากลายเป็นพญาครุฑ ตามไปถึงวิมานฉิมพลี เมื่อเวนไตยออกไปปฏิบัติภารกิจนอกวิมานก็คืนร่างเป็นนาฏกุเวรคน เดิม ด้วยความเสน่หาที่มีต่อนางกากี นาฏกุเวรก็ขอร่วมอภิรมย์สมสู่กับนางกากีโดยขู่ว่าจะ ไม่เปิดเผยความลับ ระหว่างเวนไตยกับนาง นางกากีเห็นว่า นาฏกุเวรเปิดเผยว่ารักใคร่ตัว นางมาก่อน ก็ยอมสมสู่ด้วย
เมื่อถึงกำหนดนัดเล่นสกากับท้าวพรหมทัต นาฏกุเวรก็จำแลงเป็นตัวไร เกาะปีพญา ครุฑ เวนไตยกลับเมืองพาราณสี และได้กราบทูลให้ท้าวพรหมทัต ทำเป็นไม่ทราบเรื่อง ระหว่างการเล่นสกา นาฏกุเวรก็แต่งกลอนยั่วยุให้เวนไตยโกรธ โดยพรรณาถึงรายละเอียด ทุกอย่างที่นางกากีมีแสดงว่า นาฏกุเวรได้ร่วมอภิรมย์รัก โดยนางกากีก็สมัครใจ เวนไตย โกรธมากที่นางกากีทรยศต่อตัวเองเมื่อกลับไปก็คาดคั้นเอาความจริงกับนางกากีแต่นางกากี ยอมรับตอนหลัง อ้างว่าถูกบังคับ ซึ่งเวนไตยไม่เชื่อ และส่งนางกากีกลับคืนเมืองพาราณสี ท้าวพรหมทัตทั้งรักทั้งแค้นทั้งอับอายทรงตัดเยื่อใยนางกากีและสั่งให้มหาดเล็กนำไปลอย แพในมหาสมุทร
นางกากี ต้องเผชิญเคราะห์กรรม อย่างแสนสาหัส เมื่อนายสำเภามาพบนางสลบ ไสลบนแพ เรือนร่างที่สวยงาม ย่อมเป็นที่หมายปองของนายสำเภา เขาจึงได้นางกากีเป็น ภรรยา ต่อมาโจรสลัดได้ปล้นเรือนายสำเภาและหัวหน้าโจรบังคับนางกากีให้เป็นภรรยาอีก ท่ามกลางความอิจฉาริษยา ของสมุนโจร เพราะหัวหน้าโจร ไม่ยอมแบ่งผู้หญิงให้เหมือน รายอื่นๆ
ในที่สุดก็เกิดการแก่งแย่งนางกากีกันในหมู่โจรถึงกับฆ่าฟันกันเองนางกากีฉวยโอกาส หลบหนีพวกโจรได้แต่ต้องเผชิญกับความโหดร้ายในป่าจนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอดโชคดียัง เป็นของนางกากีที่บังเอิญมีกษัตริย์ชรานามว่า ท้าวทศวงศ์ ผู้เป็นหม้ายแห่งเมืองไพศาลี เสด็จมาเที่ยวป่าได้นำนางกากีไปชุบเลี้ยงเป็นถึงมเหสี
นางกากีไม่บอกความจริงให้ท้าวทศวงศ์ เพราะกลัวความไม่ดีของตน จะทำให้ท้าว ทศวงศ์ไม่รับอุปการะ จิตใจของนางยังไม่เป็นสุข ถึงจะได้เป็นถึงมเหสี แต่ท้าวทศวงศ์ก็ ทรงโปรดปรานมเหสีร่างงามและกลิ่นกายหอม
ตั้งแต่ท้าวพรหมทัตลอยแพ นางกากีไป ก็ไม่มีความสุขกลับต้องระทมทุกข์ ถึงกับ ประชวรและสวรรคตในเวลาต่อมา เนื่องจากพระองค์ไม่มีทายาทข้าราชบริพารจึงได้เลือก ผู้ที่เป็นที่รักใคร่ของประชาชน และมีปัญญาเฉียบแหลม ขึ้นครองราชย์แทน นาฏกุเวร ได้รับเลือกเป็กษัตริย์ แทนท้าวพรหมทัต คนธรรพ์หนุ่มผู้เป็นกษัตริย์ ก็ยังรักอาลัยนางกากี อยู่ได้สืบจนทราบว่านางกากีได้เป็นมเหสีของท้าวทศวงศ์ นาฏกุเวรจึงส่งสารทวงนางกากี ในฐานะที่เคยเป็นมเหสีของกษัตริย์เมืองพาราณสีมาก่อน แต่เมืองไพศาลีไม่ยอม จึงได้เกิด สงครามระหว่างสองเมืองในที่สุดนาฏกุเวรก็ยึดเมืองไพศาลีได้ และรับนางกากีกลับมาเป็น มเหสีสมใจปรารถนา
















มโนห์รา หรือ พระสุธนคำฉันท์
เรื่องย่อทั้งหมด
ในกาลปางก่อน พระเจ้าอาทิตยวงศ์เป็นกษัตริย์ครองเมืองปัญจาลนคร พระมเหสีี ชื่อพระนางจันทราเทวี ต่อมาพระมเหสึมีพระโอรสซึ่งเมื่อประสูติ ก็บังเกิดขุมทองสี่ขุม ขึ้น ที่มุมปราสาทสี่มุม พระเจ้าอาทิตยวงศ์จึงประทานนามให้ว่า "พระสุธน" (แปลว่ามีทรัพย์ประเสริฐ-มีทรัพย์มาก) บ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก พระสุธน ราชกุมารก็ศึกษาวิชาการมีฝีมือทางการยิงธนู วันหนึ่งนายพรานบุณฑริกชาวเมืองปัญจาลนคร เข้าไปล่าสัตว์ในป่าลึกพบกลุ่ม นางกินนรีพี่น้องเจ็ดตนมาเล่นน้ำที่สระ นายพรานเห็นนางกินนรีงดงาม คิดจะจับนาง ไปถวายพระสุธน จึงแอบเข้าไปใกล้ ๆ เห็นกองปีกหางของนางกินนรีจึงหยิบไว้ชุดหนึ่ง ส่วนนางกินนรีทั้งเจ็ด เมื่อเล่นน้ำเสร็จก็กลับขึ้นมาใส่ปีกใส่หาง นางมโนห์ราน้องสาว คนสุดท้องหาปีกหาหางของตนไม่พบ ก็ไม่าสมารถบินกลับ พี่ ๆ ทั้งหกก็จำต้องทิ้ง นางไป พรานบุณฑริกจึงนำบ่วงมาคล้องนางไป และนำไปถวายพระสุธน พระสุธน ยินดีมากจึงประทานทองคำและแก้วแหวนเงินทองให้แก่นายพราน พระเจ้าอาทิตยวงศ์ และนางจันทราเทวี ก็จัดงานอภิเษกสมรส พระสุธนกับนางมโนห์รา ต่อมามีข้าศึกยกมาตีเมืองปลายเขตแดน พระสุธนจึงต้องยกทัพไปปราบ พราหมณ์ปุโรหิตผู้หนึ่งซึ่งเคยคุ่นเคืองใจ กับพระสุธน ก็แกล้งเท็จทูลพระเจ้า อาทิตยวงศ์ว่านางมโนห์ราเป็นกาลกิณี ควรจะจัดบูชายัญ เพื่อให้บ้านเมืองเป็นสุข พระเจ้าอาทิตยวงศ์ไม่เต็มพระทัย เพราะทรงทราบดีว่านางมโนห์ราเป็นที่รักอย่างยิ่ง ของพระสุธน แต่ขัดความเห็นของเสนาอำมาตย์ไม่ได้ จึงยอมพระทัยจัดพิธีบูชายัญ นางมโนห์ราเมื่อทราบก็ยินยอมให้ฆ่าบูชายัญ แต่ขอปีกขอหางมาประดับเพื่อร่ายรำ บูชา พระนางจันทราเทวีก็รีบนำปีกและหางของนางกินนรี ซึ่งพระสุธนฝากไว้มาให้ นางมโนห์ราร่ายรำจนร่างกายคล่องแคล้ว แล้วนางก็บินกลับไปยังเขาไกรลาสถิ่นที่อยู่ ระหว่างทางนางได้แวะมากราบพระฤาษีกัสสปในป่า และฝากผ้ากัมพลและพระ ธำมรงค์ไว้ให้พระสุธน ถ้าพระสุธนตามนางมาถึงพระอาศรมของฤาษี และให้ห้าม ปรามพระสุธนว่าไม่ควรตามนางไปเพราะทางยากลำบากมากแต่ถ้าพระสุธนยังดื้อดึง ที่จะไปก็ขอให้มอบยาผงนี้ให้แก่พระสูธนและให้บอกพระสุธนว่า เมื่อถึงป่าไม้มีพิษให้ จับลูกลิงไปตัวหนึ่ง เมื่อจะเสวยผลไม้ใดต้องปล่อยให้ลูกลิงกินก่อนแล้วจึงเสวยและเมื่อ ถึงป่าหวายใหญ่ ให้เอาผ้ากัมพลคลุมตัวให้แน่น นกหัสดีลิงค์จะเข้าใจว่าเป็นเนื้อกวาง ก็จะโฉบลงมาคาบตัวไป พอถึงรังนกก็ให้ตบมือนกจะตกใจบินหนีไป พระสุธนก็จะ เดินทางต่อไปพบพญาช้างสองตัวต่อสู้กันขวางทางอยู่ ให้เอายาผงทาทั่วตัว แล้วเดิน ลอดไประหว่างขาช้าง เมื่อเดินทางต่อไปจะพบภูเขาชนกันก็ให้ใช้ยาผงทาตัวแล้วเดิน ไประหว่างช่องเขา ต่อไปจะพบยักษ์สูงเจ็ดชั่วลำตาล ยืนขวางทางให้ใช้ยาผงโรย ลูกศรแล้วยิงให้ถูกอกยักษ์ เมื่อยักษ์ล้มให้เดินไปทางหัวของยักษ์ ต่อไปถึงป่าทึบไม่มี ทางออกให้ขึ้นไปซ่อนตัวอยู่ในรังนกยักษ์ และเมื่อนกยักษ์บินออกหากินก็ให้ซ่อนตัว อยู่ในปีกของนก พอนกลงหากินก็รีบลงเพราะที่นั่นจะเป็นเขาไกรลาส แล้วนางมโนห์ราก็กราบลาพระฤาษีบินไปยังเขาไกรลาส ท้าวทุมราชบิดา ของนางถึงแม้จะยินดีที่นางกลับมาแต่เนื่องจากนางไปอยู่โลกมนุษย์เป็นเวลานานจึงให้ นางอยู่ในปราสาทต่างหาก และเมื่อครบเจ็ดวันตามเวลาของเขาไกรลาส ก็จะทำพิธี มงคลชำระสระสรงนางมโนห์ราให้หมดกลิ่นสาบของมนุษย ์ ฝ่ายพระสุธนเมื่อขับไล่ ข้าศึกไปได้แล้วก็รีบกลับพระนครพอรู้ว่านางมโนห์ราบินหนีไปแล้ว ก็เสียพระทัยมาก รีบทูลลาพระบิดาและพระมารดาเพื่อติดตามนางมโนห์รา พระสุธนเดินทางไปพบ พระฤาษีกัสสป และได้ทราบความที่นางฝากไว้พระสุธนก็มิได้ย่อท้อ ออกเดินทางและ ปฎิบัติตามที่นางสั่งทุกประการ พระสุธนเดินทางเช่นนี้เป็นเวลาถึงเจ็ดปี เจ็ดเดือน เจ็ดวัน พอถึงวันที่เจ็ดก็มาถึงเขาไกรลาส พระสุธนจึงซ่อนตัวอยู่ที่ใต้ต้นไม้ริมสระน้ำ ไม่ช้าก็มีนางกินนรีบริวารถือหม้อทองคำมาตักน้ำที่สระ พอถึงคนสุดท้ายพระสุธนก็ บันดาลให้นางยกหม้อทองคำไม่ขึ้น พระสุธนออกมาช่วยยกให้และได้แอบใส่ พระธำรงค์ลงในหม้อน้ำนั้น เมื่อนางกินรีบริวารสรงน้ำให้นางมโนห์ราถึงนางกินนรี คนสุดท้ายรดน้ำเหนือศีรษะนางมโนห์รา พระธำรงค์ก็หล่นลงมากับสายน้ำนาง มโนห์รายกมือขึ้นลูบหน้าแหวนธำรงค์ก็สวมเข้าที่นิ้วก้อยพอดี นางทราบทันทีว่า พระสุธนตามมาถึงแล้วจึงสอบถามนางกินรีที่มาทีหลัง นางกินรีเล่าว่าได้พบชายหนุ่ม ช่วยยกหม้อน้ำให้นางมโนห์รา จึงให้นางกินนรีดูแลพระสุธนและส่งเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับไปให้ แล้วนางมโนห์ราก็นำความทูลพระบิดาและพระมารดา ท้าวทุมราชจึงให้พระสุธนมาเข้าเฝ้าและให้แสดงฝีมือยิงธนู ซึ่งเป็นที่ถูก พระทัยท้าวทุมราช แต่ก็ยังมีการทดสอบอีกขั้นหนึ่ง โดยให้พระธิดาทั้งเจ็ดพระองค์ แต่งกายงดงามเหมือนกันและมานั่งสลับกันอยู่ท้าวทุมราช จึงให้พระสุธนชี้ นางมโนห์ราให้ถูกต้องธิดาทั้งเจ็ดองค์เหมือนกันมาก จนพระสุธนจำนางมโนห์ราไม่ ได้ พระสุธนจึงตั้งสัจจาธิษฐานว่าถ้าในชาติก่อนไม่เคยคบหากับภรรยาของผู้อื่นมีจิต ใจมั่นคงที่นางคนเดียวแล้ว ขอให้จำนางได้พระอินทร์จึงแปลงกายเป็นแมลงวันทอง บินรอบศีรษะนางมโนห์รา พระสุธนก็ชี้นางมโนห์ราได้ถูก ท้าวทุมราชมีความยินดีจัดงานอภิเษกพระสุธนกับนางมโนห์ราแล้วพระสุธน ก็ขอลาท้าวทุมราชพานางมโนห์รากลับไปเมืองปัญจาลนครพระอาทิตยวงศ์ดีพระทัย เป็นอย่างยิ่ง จัดการตบแต่งพระนครและทำการอภิเษกพระสุธนกับนางมโนห์รา ให้ครองราชสมบัติ เมืองปัญจาลนครสืบต่อไป





















รามเกียรติ์


รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทย โดยมีต้นเค้าจากวรรณคดีอินเดีย คือมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ฮินดู
สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ ของไทยนั้น มีมาแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อให้ละครหลวงเล่น โดยได้ทรงเลือกมาเป็นตอน ๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยใช้ฉบับของอินเดีย (รามายณะ) มาพระราชนิพนธ์ ใช้ชื่อว่า "บ่อเกิดรามเกียรติ์"

กำเนิดแบบอักษรไทย



ท่านผู้รู้นักประวัติศาสตร์หลายท่าน คาดกันว่า เริ่มจากแบบอักษรคฤนถ์ของอินเดียใต้ ได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นอักษรขอม อักษรขอมนี้นำมาเขียนภาษาบาลี สันสกฤตได้สะดวก แต่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเห็นว่าการนำมาเขียนเป็นภาษาไทยนั้นไม่สะดวก เพราะไม่มีวรรณยุกต์เป็นเครื่องหมายกำหนดเสียงสูงต่ำและมีสระน้อย ไม่เพียงพอจะเขียนภาษาไทยได้ตามต้องการ พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริแก้ไขแบบอักษรเสียใหม่ให้เป็นลักษณะอักษรไทย (ซึ่งถ้าสังเกตถ้อยคำในศิลาจารึก จะเห็นคำว่า "นี้" อยู่ต่อคำว่า "ลายสือ" ทุกแห่ง คงจะมีความหมายว่าตัวอักษรแบบนี้ยังไม่เคยมี) พระองค์ทรงแก้รูปตัวอักษรให้เขียนได้รวดเร็วกว่าอักษรขอม ทั้งสระและพยัญชนะก็จะเขียนอยู่ในบรรทัดเดียวกัน
แม้ว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจะมิได้เป็นผู้ทรงประดิษฐ์รูปอักษรขึ้นโดยพระองค์เองก็ตาม (๑) การที่พระองค์ทรงแก้ไขตัวอักษรเสียใหม่ในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น นับเป็นการสำคัญ เป็นการพัฒนาต่อยอดทางความคิด คือ การนำภูมิความรู้ทั้งหลายที่มีอยู่เดิมในขณะนั้นมาพัฒนาให้เกิดความเหมาะสม ให้มีความสะดวกในการจารึกและอ่าน อีกทั้งเสียงที่ใช้นั้นก็มีความครบถ้วนตามลักษณะเสียงที่ใช้ในภาษาไทย สิ่งนี้นับเป็นคุณประโยชน์อย่างมหาศาล เป็นวิวัฒนาการ อันทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางความรู้และวิทยาการในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพในเชิงภาษาศาสตร์และความเป็นนักปราชญ์ของพระองค์
ครั้นล่วงรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว จะเป็นระยะเวลานานเท่าใดไม่ปรากฏแน่ชัด มีผู้แก้ไขกลับไปใช้คุณลักษณะบางอย่างตามแบบหนังสือขอม ซึ่งมีสระอยู่ข้างหน้าพยัญชนะบ้าง อยู่ข้างหลังพยัญชนะบ้าง อย่างเช่นใช้ในแบบหนังสือไทยมาจนทุกวันนี้
ตัวอักษรไทยที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงคิดค้นขึ้นนี้ ได้มีผู้นำไปใช้กันแพร่หลายต่อไปในประเทศใกล้เคียงในสมัยนั้น เช่น ในล้านช้าง ล้านนา และประเทศข้างฝ่ายใต้ของอาณาจักรสุโขทัย คือ กรุงศรีอยุธยา
ลักษณะของตัวอักษรไทย
สระ ๒๐ ตัว
วรรณยุกต์ ๒ รูป ตัวเลข ๖ ตัว
พยัญชนะ ๓๙ ตัว
ท่านผู้รู้บางท่านได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประดิษฐ์ตัวอักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอีกนัยหนึ่งว่า จากการดูที่เหตุผลแวดล้อม พยัญชนะไทยน่าจะมีครบทั้ง ๔๔ ตัวตั้งแต่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว ทางขอมได้ภาษาบาลี-สันสกฤตเป็นครู มีพยัญชนะจำนวน ๓๓ ตัวเท่ากับภาษาบาลี พ่อขุนรามคำแหงได้แบบอย่างจากขอมและอินเดีย ครั้งแรกนั้นคงเป็นพยัญชนะ ๓๔ ตัว (ตัดนิคหิต ออก ๑ ตัว แต่พระองค์ได้นำมาใช้แทนตัว ม อย่างสันสกฤตและขอม) ต่อมาพระองค์อาจจะทรงคิดค้นเพิ่มเติมอีก ๑๐ ตัว ที่เรียกว่า "พยัญชนะเติม" เพื่อให้เสียงพอใช้ในภาษาไทย
พยัญชนะเติม ๑๐ ตัวคือ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ ฮ จะเห็นว่าพยัญชนะเหล่านี้ได้เพิ่มเข้ามาจากพยัญชนะวรรคมีเสียงที่พ้องกัน เช่น ฃ พ้องเสียงกับ ข ฅ พ้องเสียงกับ ค
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น ตัวอักษรนี้คงออกเสียงเป็นคนละหน่วยเสียงกัน แต่ ฃ กับ ฅ คงจะออกเสียงได้ยากกว่า เราจึงรักษาเอาไว้ไม่ได้ มีอันต้องสูญไปอย่างน่าเสียดาย (๒) เหตุผลคือ ถ้าเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน พระองค์จะไม่ทรงคิดเสียงซ้ำกัน เช่นนั้น ฃ กับ ข และ ฅ กับ ค จึงน่าจะเป็นคนละหน่วยเสียงกันเช่นเดียวกับภาษาบาลี สันสกฤต ที่ออกเสียงพยัญชนะวรรคตะ ต่างกับเสียงพยัญชนะวรรคฏะ แต่เมื่อเรารับเข้ามาใช้ เราออกเสียงอย่างเขาไม่ได้ เราจึงออกเสียงเหมือนกัน เช่นเดียวกับ ตัว ส,ษ,ศ ก็เช่นเดียวกัน เขาออกเสียงต่างกันแต่เราออกเสียงเหมือนกันหมด เสียงใดที่ออกยากย่อมสูญได้ง่าย
สิ่งที่น่าเป็นห่วง
ตามคำกล่าวข้างต้น เสียงที่น่าเป็นห่วงในปัจจุบัน เช่น
เสียง "ร" เพราะออกเสียงได้ยากกว่าเสียง "ล" นักเรียนในปัจจุบันมักจะออกเสียง "ร" ไม่ค่อยได้เพราะต้องกระดกลิ้น
เสียง "ท" ที่ปัจจุบันมีผู้นิยมออกเป็นเสียง "ธ" ตามอย่างนักร้องที่มักออกเสียง "ท" เป็นเสียง "ธ"
ปัจจุบันนี้ เราหาผู้เชี่ยวชาญในการออกเสียงให้มีความชัดเจนแตกต่างจากกัน เพื่อเป็นผู้สอนการออกเสียงให้แก่นักเรียนนักศึกษาได้ยาก จึงเป็นที่น่าห่วงว่าหากเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์การออกเสียงเหล่านี้เอาไว้ สักวันหนึ่งเสียงต่างๆ เหล่านี้อาจจะสูญไปได้เช่นเดียวกัน

หนังสือสารานุกรมไทย



หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยประมวลพระราชจริยาวัตร พระราชกรณียกิจ และพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและอาณาประชาราษฎร์ พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้๑. ธรรมิกราชา๒. พระปรีชาสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม๓. เศรษฐกิจพอเพียง๔. กษัตริย์-เกษตร๕. พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุข๖. พระปรีชาสามารถด้านการพัฒนาปัญญา๗. อัครศิลปิน๘. พระราชกรณียกิจด้านการสืบสานวัฒนธรรมและขนบประเพณี๙. สังคมสมานฉันท์

วิชาภาษาไทย (สำนวน สุภาษิต คำพังเพย)


1.รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ความหมาย ทำไม่ดีหรือทำผิด กลับโทษผู้อื่น

ตัวอย่าง เช๋น วันหนึ่งแดง อยากไปเที่ยวกับเพื่อน จึงได้ไปตามเพื่อนๆมาแล้วนัดกันไปเที่ยวที่สวนสัตว์ แดงได้นัดวันเวลาและสถานที่เจอกันไว้อย่างเรียบร้อย จากนั้นก็แยกจากกัน แล้ววันเวลาที่นัดก็มาถึง ทั้งหมดได้มาเจอกัน ยกเว้น แดง ที่ยังไม่มา ทุกคนจึงโทรไปที่บ้านของแดง ปรากฏว่า แดงยังไม่ตื่น เพื่อนๆจึงไม่พอใจว่าตัวเองเป็นผู้นัดคนอื่นแต่ตัวเองกลับมาสายเอง เพื่อนจึงรีบไปที่บ้านของแดง เมื่อไปถึง แดงกลับบอกว่าเพื่อนอีกคนบอกกับตนว่าได้เลื่อนนัดไปอีกวันหนึ่ง ทั้งที่ตัวแดงเองนั้นตื่นสาย แดงจึงเข้าข่ายคำว่า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

2.หนีปะจะเข้ ความหมาย เจอสิ่งที่เลวร้ายและต้องมาเจอสิ่งที่เลวร้ายกว่า

ตัวอย่าง เช่น ในหมู่บ้านชาวชนบทอันห่างไกล พวกชาวบ้านพวกนกำลังจะมีอาชีพหาของป่าและรับจ้างโค่นต้นไม้ให้นายจ้างหน้าเงิน นายจ้างคนนี้มีอุบายที่จะบอกชาวบ้านให้ช่วยกันหาของป่าและตัดไม้ เพื่อที่ทุกคนจะได้มีฐานะร่ำรวยขึ้นจากที่เป็นอยู่ พอชาวบ้านเพียงได้ยินแค่คำว่ารวยชาวบ้านพวกนี้ก็ตาโตเป็นไข่ห่านเลย แล้วพวกเขาก็ถามนายจ้างว่าให้อย่างไรบ้าง นายจ้างก็บอกไม่ยากเลยแค่หาของป่ากับโค่นไม้ใหญ่จำนวนมากๆมาให้ เขาจะมอบเงินจำนวนหนึ่งเป็นของตอบแทนแก่พวกท่าน จากนั้นชาวบ้านก็ได้เกณท์สมัครพักพวกออกหาของป่า และช่วยกันตัดโค่นไม้ พอได้ตามจำนวนก็ใช้ช้างชักรากมาให้นายจ้างเพื่อแลกกับเงินเพียงไม่กี่พันบาท แต่ต้นไม้แต่ละต้นไม่ใช่ว่า วัน สองวันโตเป็นต้นใหญ่ขึ้นมาได้ แต่พวกเขาไม่เคยนึกถึงเรื่องนั้นเลย และต่อมาไม่นานพวกเขาก็ได้เผชิญกับผลกรรม คือในบ่ายวันหนึ่งในขณะที่พวกเขากำลังตัดไม้กันอยู่ ก็ได้มีกำลังทหารพรานได้เข้าบุกจับพวกเขาและโดนข้อหาตัดไม้และหาของป่าโดยไม่ได้รับอนุญาติ และต่อมาอีกไม่นานได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ ทำให้ท่อนซุงไหลลงมาจากเขาทำให้บ้านเรือนของพวกเขาเสียหายในที่สุด
3.ไม้อ่อนตัดง่าย ไม้แก่ตัดยาก
ความหมาย อบรมสั่งสอนให้เด็กประพฤติดีจะทำได้ง่ายกว่าอบรมสั่งสอนผู้ใหญ่

ตัวอย่าง เช่น มีครอบครัวอยู่ครอบครัวหนึ่งซึ่งมีลูกชาย 2 คน แต่อายุของเด็กสองคนนี้แตกต่างกันมาก คงจะเป็นเพราะพ่อกับแม่ของเค้าทิ้งช่วงในการมีลูกนานเกินไป อาจจะเพราะความไม่พร้อมและฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวด้วย จึงมีลูกอายุห่างกันถึง 20 กว่าปี ซึ่งลูกชายคนเล็กนั้น มีอายุได้ 6-7 ขวบ ในขณะที่ลูกชายคนโตมีอายุปาเข้าไป 28 ปีแล้ว สำหรับฐานะของครอบครัวนี้ในช่วงนี้นั้นก็จัดว่าพอมีกินมีใช้ แต่ด้วยเหตุใดไม่รู้ลูกชายคนโตถึงชอบไปหยิบไปขโมยของหรือทรัพย์สินของชาวบ้านแถวนั้นมาเป็นประจำ อาจจะด้วยเหตุว่าเมื่อตอนชายคนนี้ยังเด็กๆอยู่นั้น ขาดการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ เพราะพ่อแม่มัวแต่ทำงานกันจึงไม่มีเวลามาสั่งสอนเลี้ยงดูเด็กคนนี้ ครั้นจะมาสั่งสอนเอาตอนนี้ มันก็ดูทีว่าจะสายไปเสียแล้ว และที่สำคัญพ่อแม่ก็ไม่อยากที่จะให้ลูกชายคนเล็กคนตนเป็นไปอีกคนด้วย เลยพร่ำสอนลูกชายคนที่ 2 มาตั้งแต่เล็กๆ และก็ได้ผลด้วย เพราะเด็กชายคนเล็กคนนี้นั้น ไม่เคยไปขโมยของของใครเลย และทำให้พ่อและแม่เข้าใจเลยว่า ไม่อ่อนดัดง่าย ไม่แก่ดัดยาก จริงๆซะด้วย